Polka-dots-photo

ร่วมคุ้มครองโลมาลายจุด ที่น่าอนุรักษ์

โลมาลายจุดเป็นสัตว์น้ำที่พบได้ทั่วโลก พวกมันมักอยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มประมาณ 50 ตัว บางกลุ่มอาจรวมตัวกันมากถึง 200 ตัว โลมาลายจุดเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเร็วเป็นพิเศษ เรามักจะเห็นพวกมันว่ายในลักษณะคล้ายกับการโต้คลื่น ลายจุดของพวกมันจะยังไม่ปรากฏจนกว่าจะเริ่มโตเต็มวัย ลายจะยิ่งเข้มขึ้นเมื่อพวกมันอายุมากขึ้น ปัจจุบันนี้จำนวนประชากรของพวกมันทั่วโลกยังไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยเองก็มีพบเห็นอยู่ไม่บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่ที่พบเห็นได้มากสุดคือในน่านน้ำของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าจะมีโลมาลายจุดมากกว่า 80,000 ตัว แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการพบเห็นพวกมันเกยตื้นตายในประเทศไทย อะไรเป็นสาเหตุที่คุกคามของพวกมัน แล้วเราช่วยปกป้องพวกมันได้อย่างไร

ลักษณะที่โดดเด่นของโลมาลายจุด

โลมาลายจุดมีความยาวประมาณ 5 – 7.5 ฟุต น้ำหนักตัวประมาณ 220 – 315 ปอนด์ พวกมันมีหัวคล้ายกับลูกแตงโม มีฟันประมาณ 30 – 42 ซี่ รูปแบบลายจุดบนตัวของพวกมันแตกต่างไปตามอายุ และแหล่งอยู่อาศัยของพวกมัน โดยลูกปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยจะไม่มีลาย แต่จะมีแถบสีเทาอยู่ที่ด้านใต้ท้องของพวกมัน การที่พวกมันไม่มีจุดทำให้หลายคนเข้าใจพวกมันผิดว่าเป็นโลมาทั่วไป พวกมันใช้เวลาประมาณ 1 ปี กว่าจะเริ่มพัฒนาลวดลายบนตัวเอง โดยจุดจะเริ่มเข้มขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อพวกมันเริ่มมีอายุมากขึ้น

Polka-dots-image

พฤติกรรมของโลมาลายจุด

โลมาลายจุดมันพบอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ 50 – 200 ตัว ตามแถบชายฝั่ง แต่บางครั้งก็พบได้เป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 5 – 15 ตัว ที่น่าทึ่งคือพวกมันมักจัดกลุ่มตามเพศและอายุที่เหมือนกัน โดยการสื่อสารสามารถทำได้ด้วยการเปาฟองอาศัยผ่านรูบนหัว ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่มได้ นอกจากนี้พวกมันยังสามารถใช้เสียงในการสื่อสารได้อีกด้วย

ด้วยลักษณะการว่ายน้ำที่ผาดโผน ทำให้มันถูกยกว่าเป็นนักว่ายน้ำตัวยง เพราะพวกมันชอบกระโดดพุ่งออกมาเหนือน้ำอยู่เป็นประจำ โลมาลายจุดสามารถว่ายน้ำได้เร็วมาก อีกทั้งยังชอบว่ายไปกับคลื่นอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบเห็นพวกมันมีปฏิสัมพันธ์กับโลมาสายพันธุ์อื่นๆ เช่นโลมา โลมาปากขวด

Polka-dots-pic

เราเชื่อว่าพวกมันสามารถดำน้ำได้ลึก 200 ฟุต จากสถิติที่พวกมันสามารถกลั้นหายใจได้นาน 10 นาที แต่ส่วนใหญ่เราจะพบว่าพวกมันดำลงไปเพียงแค่ 30 ฟุต และอยู่ในจุดนั้นเพียง 2 – 6 นาที โลมาลายจุดชอบกินปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ปลาหมึก กุ้ง มักออกล่าอาหารร่วมกันเป็นกลุ่ม แต่บางครั้งก็แยกตัวออกมาขุดหาอาหารใต้มหาสมุทรเพื่อจับปลาที่ซ่อนอยู่ใต้นั้น

ทำไมถึงกลายเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

มีรายงานเข้ามาว่าโลมาลายจุดหลงเข้ามาติดแห่ของชาวประมงอยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการกินขยะพลาสติกที่ลอยในตามทะเล ซึ่งอาจทำพวกมันตายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังพบเห็นพวกมันชอบไปว่ายตามเรือประมงอยู่เสมอและตามกินอาหารที่โยนลงมา มีบางส่วนที่ถูกล่าและฆ่าทิ้งในแถบทะเลแคริบเบียน รวมไปถึงทางตอนใต้ของอเมริกา ส่วนใหญ่เพื่อนำไปเป็นอาหาร ในขณะที่บางคนบอกทำไปเพื่อความสนุกก็ตาม แม้ว่าพวกมันอาจยังไม่ได้ใกล้สูญพันธุ์ในเร็วๆ นี้ แต่ก็อยู่ในบัญชีเฝ้าระวังของหน่วยงานทั่วโลก โดยเฉพาะในไทยเองก็ถูกขึ้นเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

Support

แทงบอล

Partner