Flat-headed-cat

เสี่ยงสูญพันธุ์ แมวป่าหัวแบน สัตว์หายากที่สุดของโลก

หลังจากที่ได้สำรวจชีวิตของเจ้าแมวป่าหัวแบน ทำให้เราทราบว่าพวกมันกำลังอยู่ในอันตรายจากเงื้อมมือมนุษย์ เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่องในบริเวณแหล่งอยู่อาศัยของพวกมัน แมวป่าหัวแบนเป็นแมวที่พบเห็นได้ยาก และบ้านของพวกมันตอนนี้ถูกทำลายเพื่อไปทำการเกษตรกรรมแล้ว 70% มีเพียงจำนวน 16% เท่านั้นที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง แมวป่าหัวแบนมีอุ้งตีนที่พิเศษ เพื่อเอาไว้ใช้ล่าสัตว์น้ำเช่น ปลา หรือ ปู มีถิ่นอยู่อาศัยหลักอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แมวป่าหัวแบนเป็นที่รู้จักน้อยที่สุดในบรรดาแมวป่าทุกสายพันธุ์ ซึ่งไม่เคยมีการศึกษาอย่างเข้มงวดในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน มีน้ำหนักเพียง 1.5 ถึง 2 กิโลกรัม ออกหากินเวลากลางคืน ล่าเหยื่อขนาดเล็กในน้ำตื้นและตามชายฝั่งที่เป็นโคลน ตอนนี้ถูกจำกัดให้อยู่เพียงในเขตป่าฝนในประเทศไทย มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซียไม่มีใครรู้จำนวนประชากรที่แน่นอนของพวกมัน

Flat-headed-cat-pic

ถิ่นที่อยู่อาศัยของแมวป่าหัวแบน

ถิ่นอาศัยของแมวป่าหัวแบนอยู่ในแถบป่าฝนเขตร้อนในทางใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย และบรูไน ส่วนใหญ่พบเห็นได้ตามแหล่งน้ำจืด โดยประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 70% มักจะอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำประมาณ 3 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามยังพบเห็นพวกมันในป่าสงวนของมาเลเซียในปี 2013 แม้ว่าในพื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาใหญ่มากมาย แต่ปราศจากแหล่งน้ำที่สำคัญก็ตาม หลังจากที่มีการขยายพื้นที่ทำปาล์มอย่างต่อเนื่องในปี 1970 ก็พบว่าพวกมันรักษาระยะห่างออกไปไกล 1.5 กิโลเมตรจากแหล่งเพาะปลูก คาดว่าเป็นการปรับตัวจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หากยังเป็นแบบนี้ต่อพวกมันอาจจะไม่มีบ้านหลงเหลืออยู่อีกต่อไป

ลักษณะนิสัยของแมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบนเป็นสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน พวกมันชอบอยู่กันแบบสันโดษ ซึ่งพวกมันมีวิธีรักษาอาณาเขตของตนเองด้วยการทำเครื่องหมายจากกลิ่น โดยตัวผู้กับตัวเมียจะปัสสาวะรดพื้นที่ตามทางของพวกมัน แม้จะบอกว่ามันเป็นสัตว์หากินตอน แต่มีรายงานเข้ามาบ้างว่าพบเห็นพวกมันออกหากินในตอนช่วงเช้ามือ หรือก่อนตะวันขึ้น ซึ่งมักจะออกหากินตั้งแต่เวลา 08.00 – 11.30 น. และ 18.00 – 22.00 น.

Flat-headed-cat-image

หลังการผ่าตัดสำรวจกระเพาะของแมวป่าตัวหนึ่งในมาเลเซีย พบว่าในท้องของมันมีเพียงแค่ปลาเท่านั้น โดยจากการสังเกตนิสัยของมันในการล่าเหยื่อ พวกมันจะจับเหยื่อออกมาให้ห่างจากแม่น้ำประมาณ 2 เมตร ซึ่งเชื่อว่าป้องกันไม่ให้เหยื่อที่พวกมันจับได้ดิ้นหลุดกลับไปในน้ำนั่นเอง

พวกมันเชี่ยวชาญในการล่าเหยื่อในน้ำมากกว่าบนบก เนื่องจากมีอุ้งเท้าที่พิเศษกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วพวกมันจะกินแต่สัตว์จำพวกปลาเป็นหลัก แต่บางครั้งก็มีรายงานเข้ามาบ้างว่าพวกมันก็กินกบด้วยเช่นกัน แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ยาก นอกจากนี้พวกยังมันกินสัตว์จำพวกหนูหรือไก่อีกด้วย

ความเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธ์

ความเสี่ยงหลักของพวกมันคือการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นผลมาจากการขยายถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงพื้นนำไปใช้ในการทำเกษตรกรรรม รวมไปถึงปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ ปัญหาด้านมลพิษ การพัฒนาพื้นที่ป่าโกงกางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ที่น่ากังวลมากกว่าเรื่องอื่น คือปัญหาจำนวนปลาลดลงอย่างน่าตกใจ เพราะมีการตกปลาเกินจำนวนในแต่ละปี ปัญหาการขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มในเอเชียเองก็ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เร่งด่วนกว่าอีกด้วย ทำให้ปัจจุบันนี้แมวป่าหัวแบนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

Support

แทงบอล

Partner